- ร่างกรอบแผนพัฒนาภาค พ.ศ. 2566 – 2570
- แผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด พ.ศ. ๒๕๖๑ -๒๕๖๕ (ฉบับทบทวน)
มติเห็นชอบ การประชุมร่วม ก.บ.ภ. และ ก.น.จ. ครั้งที่ ๑ / ๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๖๔
คลิกอ่านรายละเอียดได้ที่ภาพ
2) รายละเอียดเพิ่มเติม สำนักงานพัฒนาและส่งเสริมการบริหารราชการจังหวัด สป.มท. http://www.pad.moi.go.th/TH/library.html
2.1 สรุปผลการพิจารณากลั่นกรองแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รายจังหวัด
– จังหวัดภาคเหนือ
– จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
– จังหวัดภาคกลางและกรงเทพมหานคร
– จังหวัดภาคตะวันออก
– จังหวัดภาคใต้
– จังหวัดภาคใต้ชายแดน
ข้อมูลแผนพัฒนาภาค ฉบับทบทวน พฤษภาคม 2563
คลิกที่ภาพเพื่ออ่านรายละเอียดแผนพัฒนาภาค
การก้าวไปข้างหน้าอย่างมีวิสัยทัศน์ สอดคล้องกับ การเดินไปข้างหน้าตามนโยบาย THAILAND 4.0
จังหวัดได้มีการตั้งวิสัยทัศน์ เพื่อให้การทำงานมีจุดมุ่งหมายและทิศทางที่จะเดินไปสู่ความสำเร็จ โดยการออกแบบวางยุทธศาสตร์ ซึ่งได้รวบรวมวิสัยทัศน์ของทั้ง ๗๖ จังหวัด และวิสัยทัศน์ ๑๘ กลุ่มจังหวัด ตลอดจนความรู้พื้นฐานสำหรับการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ภารกิจสำคัญของกระทรวงมหาดไทย
วิสัยทัศน์
(๑) |
เมืองแห่งคุณภาพชีวิต ศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์วัฒนธรรม แหล่งการลงทุนอุตสาหกรรม นวัตกรรม ครัวสุขภาพไทย และการบริหารจัดการทรัพยากรที่ยั่งยืน |
ชัยนาท | เมืองเกษตรมาตรฐาน ย่านท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ มุ่งสู่สิ่งแวดล้อมสมดุลและสังคมเป็นสุข |
พระนครศรีอยุธยา | อยุธยาเมืองมรดกโลก เป็นแหล่งเรียนรู้ น่าเที่ยว น่าอยู่ น่าลงทุน |
ลพบุรี | แหล่งผลิตอาหารปลอดภัย ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ สู่เมืองแห่งความสุข |
สระบุรี | เมืองการค้าการลงทุนในอุตสาหกรรมสีเขียวระดับนานาชาติ สังคมแห่งความสุข |
สิงห์บุรี | ศูนย์กลางอาหารและเกษตรปลอดภัย แหล่งท่องเที่ยวสร้างสรรค์ สังคมเป็นสุข |
อ่างทอง | อ่างทองเมืองน่าอยู่ น่าเที่ยว แหล่งผลิตสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัย |
(๒) |
เป็นศูนย์กลางการค้าการลงทุน บริการธุรกิจและการพาณิชย์ การผลิตอุตสาหกรรมระดับประเทศ ศูนย์กลางโลจิสติกส์ ศูนย์บริการด้านสุขภาพ (Medical Hub) แหล่งผลิตอาหารปลอดภัย การศึกษาระดับมาตรฐานสากล ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ |
นนทบุรี | จังหวัดนนทบุรี เป็นเมืองที่อยู่อาศัยคุณภาพดีและมีเศรษฐกิจสร้างสรรค์ |
ปทุมธานี | ปทุมธานีเป็นเมืองสิ่งแวดล้อมสะอาด อาหารปลอดภัย แหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ และพักผ่อนหย่อนใจของอาเซียน สังคมอยู่เย็นเป็นสุข |
นครปฐม | เมืองเกษตรและอุตสาหกรรมปลอดภัย แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติสาสตร์ ศาสนา วัฒนธรรม สังคมแห่งความรู้และประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี |
สมุทรปราการ | เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ เกษตรปลอดภัย แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีความสมดุลกับการพัฒนาเมือง ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี สังคมมั่นคงปลอดภัย |
(๓) |
ศูนย์กลางผลิตสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมปลอดภัย การท่องเที่ยวคุณภาพและการค้าภาคตะวันตก |
กาญจนบุรี | เมืองน่าอยู่เกษตรปลอดภัย การท่องเที่ยวคุณภาพ เป็นระเบียงเศรษฐกิจตะวันตก |
ราชบุรี | เมืองเกษตรสีเขียว เศรษฐกิจมั่นคง สังคมมีความสุข |
สุพรรณบุรี | สุพรรณบุรีเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัยชั้นนำ ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ บ้านเมืองสะอาด ธรรมชาติสมบูรณ์ ศูนย์การศึกษาและการกีฬา ประชาชนคุณภาพชีวิตดี |
(๔) |
เป็นฐานการผลิตและบริการในภาคการเกษตร อุตสาหกรรมอาหาร การท่องเที่ยว ที่ได้มาตรฐานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม |
เพชรบุรี | เมืองเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ และเมืองน่าอยู่ น่ากิน น่าเที่ยวระดับประเทศ |
สมุทรสงคราม | เมืองแห่งวิถีชีวิต ๓ น้ำอย่างยั่งยืน แหล่งอาหารทะเลและการเกษตรปลอดภัย การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง |
สมุทรสาคร | เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ เกษตรและอาหารปลอดภัย ท่องเที่ยวทางเลือกใหม่ สังคมเป็นสุข |
ประจวบคีรีขันธ์ | เมืองท่องเที่ยวทรงคุณค่าระดับนานาชาติ เกษตรปลอดภัยได้มาตรฐาน ด่านสิงขรระเบียงเศรษฐกิจแห่งอนาคต สังคมผาสุก |
(๕) |
ศูนย์กลางการเกษตร การค้า การลงทุน การท่องเที่ยวนานาชาติ โลจิสติกส์ที่สมบูรณ์ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สังคมคุณภาพ |
ชุมพร | ชุมพรเมืองน่าอยู่ บนพื้นฐานการเกษตรกรรมและการท่องเที่ยวคุณภาพ เชื่อมโยงการพัฒนาสองฝั่งทะเล |
นครศรีธรรมราช | นครแห่งอารยธรรม น่าอยู่น่าเที่ยว การเกษตรและอุตสาหกรรมยั่งยืน |
พัทลุง | เมืองคนคุณภาพ สิ่งแวดล้อมดี ชุมชนเข้มแข็ง เติบโตและมั่งคั่งจากฐานการเกษตร วัฒนธรรม ภูมิปัญญา และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่ยั่งยืน |
สุราษฎร์ธานี | เมืองเกษตรคุณภาพ การท่องเที่ยวยั่งยืน สังคมเป็นสุข |
สงขลา | สงขลา ศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคใต้ ประชาชนมีคุณภาพ สิ่งแวดล้อมยั่งยืน |
(๖) |
การท่องเที่ยวที่มีคุณภาพระดับโลก บนพื้นฐานความเข้มแข็ง ของภาคเกษตรและชุมชนอย่างยั่งยืน |
กระบี่ | เมืองท่องเที่ยวคุณภาพระดับนานาชาติ เกษตรอุตสาหกรรมยั่งยืน สังคมน่าอยู่ มีการปรับตัวเท่าทันต่อบริบทการเปลี่ยนแปลง |
ตรัง | เมืองแห่งคุณภาพชีวิตที่ดีและยั่งยืน |
พังงา | ศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เกษตรกรรมยั่งยืน สังคมแห่งการเรียนรู้ สู่คุณภาพชีวิตที่ดี |
ภูเก็ต | ศูนย์กลางการท่องเที่ยว การศึกษา นวัตกรรมบริการในระดับนานาชาติและการพัฒนาที่ยั่งยืน มุ่งสู่จังหวัดที่พัฒนาแล้ว ภายในปี พ.ศ. ๒๕๗๙ (Hub of International in Tourism Education and Innovation) |
ระนอง | เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับชั้นนำในภูมิภาคเอเชีย |
สตูล | เมืองท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อุทยานธรณีโลก เศรษฐกิจมั่นคง สังคมน่าอยู่ สันติสุขยั่งยืน ประตูสู่อาเซียน |
(๗) |
เกษตรก้าวหน้า การค้าชายแดน การท่องเที่ยวเชื่อมโยงสู่อาเซียน |
นราธิวาส | เศรษฐกิจมั่นคง การค้าเฟื่องฟู นราน่าอยู่ มุ่งสู่สันติสุขอย่างยั่งยืน |
ปัตตานี | เมืองเกษตรอุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์ฮาลาลคุณภาพของประเทศ เป็นสังคมพหุวัฒนธรรมที่สันติสุข |
ยะลา | คุณภาพชีวิตมั่นคง เกษตรมั่งคั่ง ท่องเที่ยวยั่งยืน |
(๘) |
พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษที่ดีและทันสมัยที่สุดในภูมิภาคอาเซียน และเป็นแหล่งผลิตอาหารและผลไม้เพื่อการส่งออก ยกระดับแหล่งท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐานระดับนานาชาติ |
ฉะเชิงเทรา | เมืองอุตสาหกรรมสีเขียว ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม แหล่งผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย สังคมมีคุณภาพ ป่าและน้ำอุดมสมบูรณ์ |
ชลบุรี | ฐานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมชั้นนำของอาเซียน แหล่งท่องเที่ยวชายทะเลนานาชาติ แหล่งผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย ประตูสู่เศรษฐกิจโลก สังคมแห่งการเรียนรู้มีภูมิคุ้มกัน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นฐานการพัฒนาที่มีคุณภาพและยั่งยืน |
ระยอง | เมืองนวัตกรรมก้าวหน้า พัฒนาอย่างสมดุล บนพื้นฐานความพอเพียง |
(๙) |
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรม อุตสาหกรรม อัญมณี และเศรษฐกิจฐานรากก้าวหน้า แหล่งผลิตอาหารสินค้าเกษตร และผลไม้คุณภาพปลอดภัย เมืองสมุนไพรแห่งเอเชีย การค้าชายแดน เชื่อมโยง EEC และ ประเทศเพื่อนบ้าน |
จันทบุรี | ศูนย์กลางการผลิตและการค้าสินค้าเกษตรคุณภาพ ศูนย์กลางการค้าอัญมณีและเครื่องประดับชั้นเลิศ เมืองท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวิถีชุมชน ประตูการค้าชายแดนสู่ประชาคมอาเซียน |
ตราด | ตราดเมืองมั่งคั่ง ชุมชนมั่นคง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยั่งยืน |
นครนายก | นครนายกเมืองน่าอยู่ |
ปราจีนบุรี | เมืองอุตสาหกรรมสีเขียว ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เกษตรปลอดภัย เมืองสมุนไพรต้นแบบ |
สระแก้ว | เมืองชายแดนแห่งความสุข ถิ่นเกษตรปลอดภัย แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และอารยธรรมโบราณ เขตเศรษฐกิจพิเศษสระแก้วมั่นคง |
(๑๐) |
เกษตรอุตสาหกรรมชั้นนำ การค้าและการท่องเที่ยวสากล ชุมชนน่าอยู่อย่างยั่งยืน |
บึงกาฬ | เมืองยางพาราก้าวหน้า เชื่อมโยงการค้าอินโดจีน พัฒนาเกษตรอินทรีย์ ตามวิถีอารยธรรมลุ่มน้ำโขง |
เลย | เมืองน่าอยู่ เมืองแห่งการท่องเที่ยว การค้า และการลงทุนภายใต้การพัฒนาที่ยั่งยืน |
หนองคาย | หนองคาย เกษตรอุตสาหกรรมวัฒนธรรมรุ่งเรือง เมืองท่องเที่ยวลุ่มน้ำโขง |
หนองบัวลำภู | หนองบัวลำภูเป็นเมืองน่าอยู่ น่าเที่ยว |
อุดรธานี | เมืองน่าอยู่ ศูนย์กลางการค้าการลงทุนอนุภาคลุ่มน้ำโขง |
(๑๑) |
ส่งเสริมการเกษตรด้วยนวัตกรรม ท่องเที่ยว ๓ ธรรม เชื่อมโยง ๓ ประเทศ มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจ |
นครพนม | เมืองน่าอยู่ ประตูเศรษฐกิจสู่อาเซียนและจีนตอนใต้ – ตะวันออก |
มุกดาหาร | เมืองการค้า การเกษตร การท่องเที่ยวชายโขง เชื่อมโยงอาเซียน |
สกลนคร | เป็นแหล่งเกษตรปลอดภัย ก้าวไกลการค้า การลงทุน พัฒนาการท่องเที่ยวสู่อนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง |
(๑๒) |
ศูนย์กลางอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร เชื่อมโยงการบริการ การท่องเที่ยวและโลจิสติกส์ สู่อนุภาคลุ่มน้ำโขง |
กาฬสินธุ์ | กาฬสินธุ์เมืองอาหารปลอดภัย ถิ่นภูมิปัญญาวิถีไทยอีสาน น่าท่องเที่ยว น่าลงทุน และสังคมมีความมั่นคงปลอดภัย |
ขอนแก่น | มหานครน่าอยู่ มุ่งสู่เมืองนวัตกรรม ศูนย์กลางเชื่อมโยงอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง |
มหาสารคาม | เป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรและอาหารคุณภาพ ศูนย์กลางบริการทางการศึกษาและวัฒนธรรม ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี |
ร้อยเอ็ด | เป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพสูง ท่องเที่ยววัฒนธรรมอีสานและเมืองสุขภาพในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ |
(๑๓) |
ศูนย์กลางเกษตรอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ไหม ท่องเที่ยวอารยธรรมขอม การค้าชายแดน สังคมเป็นสุข |
ชัยภูมิ | เศรษฐกิจก้าวหน้า สังคมและสิ่งแวดล้อมมีคุณภาพอย่างยั่งยืน |
นครราชสีมา | โคราชเมืองน่าอยู่ มุ่งสู่นวัตกรรมและเกษตรอุตสาหกรรม สังคมปลอดภัย |
บุรีรัมย์ | ศูนย์กลางการท่องเที่ยวอารยธรรมขอมและกีฬามาตรฐานโลก เศรษฐกิจมั่นคง สังคมสันติสุข ๙ ดี |
สุรินทร์ | เมืองเกษตรอินทรีย์ ท่องเที่ยววิถีชุมชน ประชาชนมีคุณภาพชีวิตดี |
(๑๔) |
๑. อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป และเกษตรอินทรีย์เพิ่มพูน ๒. การท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ การค้าชายแดนได้มาตรฐานสากล |
ยโสธร | ยโสธรเมืองเกษตรอินทรีย์ เมืองแห่งวิธีอีสาน |
ศรีสะเกษ | ดินแดนเกษตรปลอดภัย การค้าและการท่องเที่ยวครบวงจร |
อำนาจเจริญ | เมืองธรรมเกษตร เขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง เส้นทางการค้าสู่อาเซียน |
อุบลราชธานี | เมืองน่าอยู่ทันสมัย ประตูสู่การค้าการลงทุน ท่องเที่ยวหลายมิติ เกษตรสู่สากล |
(๑๕) |
ศูนย์กลางการท่องเที่ยว การค้า การลงทุนสู่สากล บนพื้นฐานความโดดเด่นวัฒนธรรมล้านนา สังคมน่าอยู่ สิ่งแวดล้อมยั่งยืน |
เชียงใหม่ | นครแห่งความมีชีวิตและความมั่งคั่ง |
แม่ฮ่องสอน | เมืองแห่งการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เปิดประตูสู่ตะวันตก ยกระดับคุณภาพชีวิต พัฒนาเศรษฐกิจให้ยั่งยืน บนพื้นฐานแห่งความพอเพียง |
ลำปาง | ลำปางเมืองน่าอยู่ นครแห่งความสุข |
ลำพูน | เมืองแห่งความสุข บนความพอเพียง |
(๑๖) กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ๒ |
ประตูการค้าสากล โดดเด่นวัฒนธรรมล้านนา สินค้าเกษตรปลอดภัย ประชาชนร่วมใจอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ |
เชียงราย | เมืองแห่งการค้า การลงทุน การเกษตร และการท่องเที่ยวรุ่งเรืองด้วยวัฒนธรรมล้านนา ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข |
น่าน | เมืองแห่งความสุข เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ธรรมชาติสมบูรณ์ การเกษตรมั่งคั่งชุมชนเข้มแข็ง ท่องเที่ยวยั่งยืน |
พะเยา | แหล่งผลิตเกษตรปลอดภัย สังคมเข้มแข็งภายใต้การเป็นประชาคมอาเซียน |
แพร่ | เมืองเศรษฐกิจมั่นคง ชุมชนเข้มแข็งประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ |
(๑๗) |
เป็นศูนย์กลางการบริการสี่แยกอินโดจีนเชื่อมโยงเศรษฐกิจ สังคม และบริการของภูมิภาค สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน |
ตาก | เมืองน่าอยู่ ประตูการค้าชายแดน |
พิษณุโลก | เมืองบริการสี่แยกอินโดจีน บนฐานการบูรณาการเศรษฐกิจสร้างสรรค์และสังคมมั่นคง |
เพชรบูรณ์ | ดินแดนแห่งความสุขของคนอยู่และผู้มาเยือน |
สุโขทัย | เมืองมรดกโลกเลิศล้ำ เมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์และนวัตกรรม เมืองแห่งอารยธรรม |
อุตรดิตถ์ | เมืองแห่งคุณภาพชีวิต ผลผลิตปลอดภัย การท่องเที่ยวพัฒนา การค้าชายแดนเติบโต |
(๑๘) |
เป็นศูนย์กลางธุรกิจข้าว สินค้าเกษตรปลอดภัย การท่องเที่ยวธรรมชาติและวัฒนธรรมล้ำค่าระดับประเทศ |
กำแพงเพชร | แหล่งผลิต แปรรูปสินค้าเกษตรปลอดภัย ฐานผลิตพืชพลังงานทดแทน และเมืองท่องเที่ยวมรดกโลก |
นครสวรรค์ | จังหวัดนครสวรรค์เป็นแหล่งเกษตรปลอดภัย อุตสาหกรรมฐานชีวภาพ เมืองท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและธรรมชาติ สังคมพอเพียงและธรรมชาติสิ่งแวดล้อมยั่งยืน |
พิจิตร | เมืองเกษตรดี เมืองสิ่งแวดล้อมดี เมืองสังคมและคุณภาพชีวิตดีพร้อมสู่สากล |
อุทัยธานี | เมืองท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เกษตรปลอดภัย สังคมอุทัยผาสุก |
(ข้อมูล มิถุนายน ๒๕๖๑ อ้างอิงจากเอกสารงบประมาณ สำนักงบประมาณ )
รู้และเข้าใจ เขตเศรษฐกิจพิเศษ
บริเวณพื้นที่ที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) กำหนดให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งรัฐจะสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน สิทธิประโยชน์ การลงทุน การบริหารแรงงานต่างด้าวแบบไป-กลับ การให้บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ และการอื่นที่จำเป็น
จำนวน ๑๐ พื้นที่ ได้แก่ ตาก มุกดาหารสระแก้ว ตราด สงขลา หนองคาย นราธิวาส เชียงราย นครพนม และ กาญจนบุรี
ประกาศราชกิจจานุเบกษา >>
>> รายงานความก้าวหน้าการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
>> อ่านต่อรายละเอียด ข้อมูลธุรกิจ วิจารณ์เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน (SEZ)เงียบ !
เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) หรือเรียกว่า โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เป็นแผนยุทธศาสตร์ภายใต้ ไทยแลนด์ 4.0 ต่อยอดความสำเร็จมาจาก แผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ Eastern Seaboard เป็นการยกระดับพื้นที่ในเขต 3 จังหวัดคือ ชลบุรี, ระยอง, และ ฉะเชิงเทรา
cr. เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
เมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ คณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจมีมติในการประชุมคณะรัฐมนตรี ให้ความเห็นชอบกรอบแนวคิดการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ จำนวน 3 พื้นที่ ตามที่เสนอ และให้เพิ่มเติมการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง – ตะวันตก อีก 1 พื้นที่ รวมทั้งสิ้น 4 พื้นที่ เพื่อเป็นพื้นที่การพัฒนาเศรษฐกิจเชื่อมโยงกับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน (SEZ) และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกรอบในการร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายต่อไป ประกอบด้วย
- พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (Northern Economic Corridor : NEC – Creative LANNA)
- พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Northeastern Economic Corridor : NeEC – Bioeconomy)
- พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง – ตะวันตก (Western Central Economic Corridor : WCEC)
- พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (Southern Economic Corridor : SEC)
ให้ความเห็นชอบแผนงานโครงการและมาตรการสำคัญ ปี 2564 ตามที่เสนอ โดยให้ สศช. ร่วมกับสำนักงบประมาณบริหารจัดการโดยปรับโครงสร้างแผนงานบูรณาการพัฒนาพื้นที่ระดับภาคในแต่ละภาคให้รองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อสามารถขับเคลื่อนและประเมินผลการพัฒนาตามเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ให้ความเห็นชอบกลไกการบริหารจัดการการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยมอบหมาย สศช. จัดทำ “ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. …” แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (กพศ.) เพื่อให้มีกลไกบริหารจัดการและขับเคลื่อนพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษทั้งหมดอย่างบูรณาการ มีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง
ให้กระทรวงคมนาคมศึกษาความเหมาะสมและจัดทำข้อเสนอ ดังนี้ (1) แนวทางการพัฒนาโครงข่ายสายรองทั้งประเทศ (2) การพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทั้งสองฝั่งทะเลอ่าวไทยและอันดามัน
** ประกาศราชกิจจานุเบกษาแล้ว ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. 2564
เขตเศรษฐกิจพิเศษ ที่ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัดขึ้นไปให้เรียกเขตเศรษฐกิจพิเศษนั้นว่า ” ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ”