การส่งเสริมเรื่องคุณธรรม เป็นเรื่องที่จังหวัดต้องดำเนินการควบคู่กันไปกับการพัฒนาเป็นจังหวัด ๔.๐ ด้วยเพราะคนที่มีคุณธรรม องค์กรที่มีคุณธรรม ตลอดจนความโปร่งใส จะทำให้ประเทศไทยมีการพัฒนา ซึ่งองค์กรที่เข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อน จะแยกกันดำเนินการ หากเป็นจังหวัดคุณธรรมที่มุ่งพัฒนา ๓ ระดับ คือ จังหวัดส่งเสริมคุณธรรม จังหวัดคุณธรรม และจังหวัดคุณธรรมต้นแบบ มีกระทรวงวัฒนธรรมเป็นหลัก แต่หากจังหวัดที่เน้นเรื่องประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส มีสำนักงานป้องกันและปราบปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป็นหลัก ดังรายละเอียดพอสังเขปดังนี้
(๑) การส่งเสริมและพัฒนาจังหวัดคุณธรรม
ภายใต้แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๙ – ๒๕๖๔)
จังหวัดคุณธรรม หมายถึง จังหวัดที่ผู้ว่าราชการจังหวัด ส่วนราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจระดับจังหวัด อำเภอทุกแห่ง องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลนคร สถาบันอุดมศึกษา สภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรม สภาวัฒนธรรมจังหวัด เครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันทางศาสนา สมาคม มูลนิธิ และทุกภาคส่วนของจังหวัด เข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงเจตนารมณ์และมุ่งมั่นที่จะดำเนินการส่งเสริมคุณธรรมในองค์กร ชุมชน อำเภอ และจังหวัด ให้ยึดมั่นและปฏิบัติตามหลักธรรมทางศาสนา โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและวิถีวัมนธรรมไทยที่ดีงาม มาเป็นหลักในการดำรงชีวิต ตลอดจนมีส่วนร่วมรณรงค์ส่งเสริมคุณธรรมให้กับประชาชน ชุมชน หรือเครือข่ายอื่นๆ แบ่งตามพื้นที่ออกเป็น ๒ ส่วน คือ จังหวัด ๗๖ จังหวัด และ กรุงเทพมหานคร
เกณฑ์การประเมินจังหวัดคุณธรรม อันจะนำไปสู่การประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติ >> อ่านต่อ
วิธีการคัดเลือกจังหวัดคุณธรรม แผนผังกระบวนการประเมินจังหวัดคุณธรรม >> อ่านต่อ
อ่านข่าว >> ศูนย์คุณธรรมขับเคลื่อน ๔ จังหวัดคุณธรรม ระยะที่ ๒ (เชียงราย พระนครศรีอยุธยา สุราษฎร์ธานี และ อุดรธานี)
(๒) การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส
Integrity and Transparency Assessment : ITA
สื่อวีดิทัศน์ ITA ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ITA คืออะไร ทำไมต้อง ITA และเป้าหมายของ ITA คืออะไรมาทบทวนและทำความเข้าใจกันครับ สื่อวีดิทัศน์: การพัฒนาและปรับปรุงการปฏิบัติงานตามกรอบการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ
โพสต์โดย ITA NACC เมื่อ วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม 2019
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ Integrity and Transparency Assessment : ITA เป็นการประเมินที่มีจุดมุ่งหมายที่จะก่อให้เกิดการปรับปรุงพัฒนาด้านคุณธรรมและความโปร่งใสในหน่วยงานภาครัฐ โดยถือเป็นการประเมินที่ครอบคลุมหน่วยงานภาครัฐทั่วประเทศ ซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๖๑ มีมติเห็นชอบให้หน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยงานให้ความร่วมมือและเข้าร่วมการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๔ โดยใช้แนวทางและเครื่องมือการประเมินตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ สำนักงาน ป.ป.ช. กำหนด
ปฏิทินการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
คู่มือรายละเอียดการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ [e-book] [.pdf]
– คู่มือรายละเอียดการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓
– แนวทางการยกระดับค่าคะแนนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓
อ่านหนังสือเล่มนี้ เพื่อเข้าใจเลขฐานสอง ทำได้….ทำไม่ได้
– ประกาศสำนักงาน ป.ป.ช. เรื่องปฏิทินการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓
– ตัวอย่างแบบตรวจการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ
Open Data Integrity and Transparency Assessment (OIT)
– ประกาศสำนักงาน ป.ป.ช. เรื่องผลคะแนนประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ รายปีงบประมาณ
>> ๒๕๖๓>๒๕๖๒>๒๕๖๑
– ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ (หน้า ๑๕ แสดงผลหน่วยงานภาครัฐในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ; หน้า ๓๑ – ๓๓ แสดงผลจังหวัด)
– ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ (หน้า ๔๖ แสดงผลหน่วยงานภาครัฐในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ; หน้า ๖๕ – ๖๗ แสดงผลจังหวัด)
ในปี ๒๕๖๒จังหวัดนครพนมได้รับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส Integrity and Transparency Assessment : ITAในระดับ AA ด้วย
คะแนน ๙๕.๕๐ คะแนน ซึ่งเป็นเพียงจังหวัดเดียวของประเทศที่ได้รับรางวัลนี้
– ประกาศ สำนักงาน ป.ป.ช. เรื่องผลคะแนนประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑– ระบบแสดงผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประเภท “จังหวัด” จัดทำโดย สำนักงาน ป.ป.ช.
– สรุปผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประเภท “จังหวัด” เปรียบเทียบ ปี ๒๕๖๑ – ๒๕๖๒ (ปี ๒๕๖๒ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ ๘๕ จำนวน ๔๕ จังหวัด)
– สรุปผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐประเภท “จังหวัด” เปรียบเทียบปี ๒๕๖๑ – ๒๕๖๓ (ปี ๒๕๖๓ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ ๘๕ จำนวน ๓๘ จังหวัด)
– ในปี ๒๕๖๓ จังหวัดที่มีคะแนนสูงสุด ๑๐ อันดับแรก ได้แก่ นครพนม นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ นครราชสีมา อุบลราชธานี สุรินทร์ สกลนคร ราชบุรี อำนาจเจริญ และ ปทุมธานี
อ่านต่อ โครงการ ITA สำนักงาน ป.ป.ช. [เฟซบุ๊ค]
โครงการ ITA สำนักงาน ป.ป.ช. [เว็บไซต์]
หรือ line@itas
หรือสงสัย การประเมิน ITA ที่โทร. ๐ ๒๕๒๘ ๔๘๐๐ ต่อ ๗๑๓๘ ๗๑๔๑ ๗๑๔๒